Sawaky story

Sawaky story/ประวัติความเป็นมาของแบรนด์ สวากี้

Sawaky -สวากี้ เริ่มมาจาก Mr.Sawakit P.(คุณสวกฤต ปัญญาเรือง) เป็นนักประดิษฐ์คิดค้นและออกแบบโครงสร้างของที่นอนและเบาะรองนั่งที่ใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและด้านสุขภาพของบุคคลทั่วไป เช่น แก้ปัญหาแผลกดทับของผู้ป่วยติดเตียง แก้ปัญหาเรื่องโรคออฟฟิศซินโครงจากการนั่งทำงาน เป็นต้น

คำว่า Sawaky มีหมายว่า สบายดี เป็นคำคล้องจองกัน คือ สวากี้เท่ากับสบายดี เป็นความหมายที่ให้ความรู้สึกถึงอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สบายและมีสุขภาพดี

มาดูความหมายของตัวอักษรแต่ละตัวว่าหมายถึงอะไร

S  =  Solution  การค้นหาทางออกของปัญหา

A = anti-ache การป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากความเจ็บป่วย

W = win the day การประสบความสำเร็จของการใช้ชีวิตในแต่ละวัน

A = acceptable การมุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งสังคมโลก

K = knowledge การศึกษาเรียนรู้ ความทุกข์และความสุขให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

Y = yoga  เข้าใจระบบการบริหารร่างกายและการควบคุมลมหายใจ หรือ การควบคุมจิตใจและร่างกาย

ต่อแต่นี้ไปทุกท่านจะรู้จักแบรนด์ Sawaky ในความหมายแห่งสุขภาพซึ่งจะเป็น Health Infrastructure คือ เป็นโครงสร้างพื้นฐานของกายอุปกรณ์ที่จะต้องมีองค์ประกอบที่สัมพันธ์กับสรีระและการทำงานของร่างกาย ยกตัวอย่าง เช่น กรณีช่วงเวลาที่เรานอนหลับร่างกายต้องการผ่อนคลายทั้งระบบไม่ว่าจะเป็นสมองหรือกล้ามเนื้อต่างๆ คราวนี้มาดูกันว่าในกล้ามเนื้อจะมีหลอดเลือดฝอยและเลือดจะต้องไหลเวียนได้สะดวกตลอดเวลา แต่ถ้าเรานอนบนที่นอนที่มีความแข็งมากเกินไปกล้ามเนื้อจะถูกกดทำให้หลอดเลือดฝอยตีบเลือดไหลเวียนไม่สะดวกจึงก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยล้าขึ้น และอีกประเด็นหนึ่ง คือ ร่างการของเราจะระบายความร้อนจากภายในออกสู่ผิวหนังตลอดเวลา ถ้าเรานอนบนที่นอนที่ไม่ระบายอากาศก็จะทำให้ความร้อนสะสมบริเวณผิวหนังที่ถูกกดทับก่อให้เกิดความชื้น เกิดแบคทีเรีย ดังนั้นคนป่วยติดเตียงจึงเกิดแผลกดทับได้ง่ายนั่นเอง

สุขภาพดีเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตเรา การเรียนรู้และการนำประสบการณ์ที่เราได้เจอะเจอมาปรับใช้และใช้แก้ไขปัญหาสุขภาพเราเองนั้นถูกต้องที่สุด เบื้องต้นเราไม่จำเป็นต้องให้แพทย์วินิฉัยโรคในร่างการของเราเพราะเราสามารถวินิฉัยสภาวะร่างกายของเราได้ดีกว่าแพทย์ นั่นเป็นเพราะเหตุใด ก็เพราะว่าเราจะเรารู้ดีกว่าเราเจ็บตรงไหน เจ็บมากเจ็บน้อย เรารู้ว่าเรากินอะไรรู้สึกดีกินอะไรรู้สึกแย่ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่เราต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งแจ่มแจ้งด้วยตัวเราเอง อ่าว!! แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร.เราไม่ใช้หมอนี่?.. ผมถามนิดนึ่งหมอก็คือคนเขาก็ไปนั่งเรียนมาแล้วมาช่วยรักษาเรา ซึ่งแต่ละท่านก็เป็นหมอเฉพาะทางไม่ได้รู้ทุกเรื่องนะ!.. แต่เราจะรู้ทุกเรื่องว่าร่างกายเราป่วย ดังนั้น เราก็ต้องควรศึกษาเรียนรูเกี่ยวกับร่างการของเราเองว่ามันทำงานอย่างไร มีระบบอะไรสัมพันธ์กันอย่างไร พูดให้ตรงคือ เรียนชีวะวิทยาด้านร่างกายมนุษย์(บทเรียน ม.4) เข้าไปค้นหาในอินเตอร์มีข้อมูลให้เราศึกษามากมาย เข้าใจง่าย ...ต้องทำนะ

เทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่างหลักสรีระศาสตร์ (ergonomics)และ วัสดุศาสตร์(materials science)

การบ่งชี้สาเหตุของการเกิดแผลกดทับได้อย่างถูกต้องนั้นจะเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาได้ทั้งในเชิงป้องกันและการรักษาแผลกดทับได้อย่างถูกต้อง แผลกดทับเกิดจากภาวะของผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว นอนบนเบาะนอนที่มีความแข็งจึงก่อให้เกิดแรงกดต่อกล้ามเนื้อสูงเกินกว่าแรงดันเลือดในหลอดเลือดและการไม่ระบายความร้อนที่ระบายออกจากภายในร่างกายสู่ผิวหนัง ณ จุดที่ถูกกดทับ(สวกฤต ปัญญาเรือง,2558) ดังนั้นการที่จะแก้ไขปัญหาทั้งในเชิงป้องกันและการรักษาแผลกดทับก็จะต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่างหลักสรีระศาสตร์ (ergonomics)และวัสดุศาสตร์(materialsscience) นำมาออกแบบวัสดุ (materials design) ให้สอดรับกันทั้งสองศาสตร์อย่างเป็นนัยสำคัญ  หมายถึง ในร่างกายของมนุษย์มีหลอดเลือดฝอยอยู่ตามบริเวณกล้ามเนื้อต่างๆ โดยเฉพาะในท่านอนจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลมากที่สุดคือบริเวณก้นกบซึ่งจะมีกล้ามเนื้อที่บางผิวหนังสัมผัสถึงกระดูก เบาะนอนที่มีความแข็งจะเกิดแรงกดทับต่อหลอดเลือดฝอยสูงเกินกว่าแรงดันของเลือดทำให้หลอดเลือดตีบตันและจะเกิดภาวะเลือดหยุดการไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงเซลบริเวณนั้นเซลก็จะตายกลายเป็นแผลและจะเกิดการรุกรามอย่างรวดเร็วเนื่องจากเบาะนอนที่ไม่ระบายอากาศจะส่งผลทำให้ความร้อนที่ระบายออกจากร่างกายสู่ผิวหนังเกิดการสะสมบริเวณที่ถูกกดทับและจะกลายเป็นเหงื่อเกิดแบคทีเรียในเวลาต่อมา แบคทีเรียจะทำให้แผลรุกรามผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจะต้องนอนบนเบาะนอนที่สามารถมารลดแรงกดทับต่อกล้ามเนื้อและระบายอากาศได้ตลอดเวลาจึงจะสามารถป้องกันและลดแผลกดทับได้อย่างเป็นนัยสำคัญ(สวกฤต ปัญญาเรือง,2558)

เทคโนโลยี SAWAKY

เทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่างหลักสรีระศาสตร์ (ergonomics)และวัสดุศาสตร์(materials science) นำวัสดุมาออกแบบ (materials design) ให้สอดรับกับสรีระร่างกายมนุษย์ในท่านั่งและท่านอนอย่างมีนัยสำคัญ หรืออาจเรียกได้อีกอย่างว่า Disruption Product เป็นการออกแบบแทนที่ของเดิม(ยกเลิกของเดิม)

การออกแบบผลิตภัณฑ์

หมวดที่นอน สิ่งที่กำหนดเป็นมาตรฐาน

v  ลักษณะ 2 ชั้น มีส่วนประกอบฟองน้ำเจาะรูพรุนและแผ่นระบายความร้อน อีวีเอ

v  ลักษณะเบาะนอนแบ่งเป็น 5 ส่วนแยกอิสระ สลับตำแหน่ง ถอดทำความสะอาดได้สะดวก

v  ผ้าปลอกสวมชิ้นส่วนเป็นชนิดป้องกันน้ำซึมผ่านและระบายอากาศได้

v  ได้คุณสมบัติลดแรงกดทับต่อกล้ามเนื้อและระบบระบายความร้อนและสารพิษบริเวณผิวหนัง

 

หมวดเบาะรองนั่ง สิ่งที่กำหนดเป็นมาตรฐาน

v  ลักษณะ 2 ชั้น มีส่วนประกอบฟองน้ำเจาะรูพรุนและแผ่นระบายความร้อน อีวีเอ

v  มีช่องลดแรงกดทับกระดูกก้นกบ

v  ได้คุณสมบัติลดแรงกดทับต่อกล้ามเนื้อและระบบระบายความร้อนและสารพิษบริเวณผิวหนัง

 

แนวคิดที่นอนวิทยาศาสตร์

      ร่างกายจะทั้งการนำเข้าและนำออก ระบบการเผาผลานจะเกิดของเสียหรือสารพิษในร่างกายและถูกขับออกหลายช่องทาง เช่น ออกทางอุจจาระ ปัสสาวะ ตา หู จมูก และทางผิวหนัง ซึ่งจะมีมากบริเวณแผ่นหลังและก้น

      ร่างกายจะระบายความร้อนและสารพิษ(Toxic)ออกสู่ผิวหนังตลอดเวลาไม่ว่าร่างการจะอยู่ในท่า นั่ง นอน ยืน เดิน และท่านั่งและท่านอนจะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพมาก ทั้งคนปกติและผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงจะส่งผลกระทบอย่างมากคือเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ

แหล่งอ้างอิงข้อมูล : https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/dx-cov/Kinetic/kinetic
 
      การนำที่นอนมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น อาการปวดหลัง ปวดเมื่อยตามลำตัวหลังตื่นนอน ปัญหาแผลกดทับกับผู้ป่วยติดเตียงและยังรวมไปถึงการนำที่นอนไปแก้ไขปัญหาแผลกดทับในโรงพยาบาลซึ่งเป็นแหล่งเกิดแผลกดทับถึงร้อยละ 90 (โรงพยาบาลระดับจังหวัด) หลักการนี้จะนำไปสู่การแก้ปัญหาแผลกดทับได้อย่างยั่งยืน Sustainable Development


      ที่นอน SAWAKY ได้รับการพัฒนาเป็นที่นอนใช้ป้องกันแผลกดทับ นวัตกรรมนี้เป็นการเปลี่ยนแนวคิดจากที่นอนแบบเดิมเปลี่ยนโครงสร้างโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ผสมผสานกันระหว่างหลักสรีระศาสตร์ (ergonomics) และวัสดุศาสตร์ (materials science) นำมาออกแบบเชิงวิศวกรรมให้สอดรับกับสรีระของร่างกายในท่านอน โดยแบ่งเป็นสาระสำคัญ 4 อย่างดังนี้

      ประการที่หนึ่ง : ลดแรงกดต่อกล้ามเนื้อและหลอดเลือดฝอย ความนุ่มของที่นอนส่งผลให้แรงดันในหลอดเลือดฝอยไม่เกิน 32 mmHg (ผลทดสอบ 28.16 mmHg บนเครื่องทดสอบ Mapping test)

      ประการที่สอง : ระบายความร้อนออกจากผิวหนังได้ทันที รูพรุนขนาดใหญ่ที่มีอยู่ทั่วผิวพียูโฟมและมีแผ่นระบายความร้อนอีวีเอ ที่ทำหน้าที่สร้างโพรงอากาศในด้านล่างของที่นอนจึงช่วยให้ความร้อนกระจ่ายลงด้านล่างได้ตลอดเวลา

      ประการที่สาม : พื้นผิวที่นอนมีความเรียบสม่ำเสมอ แผ่นพียูโฟมมีพื้นผิวที่เรียบสม่ำเสมอกันทั่วทั้งผืนจะช่วยลดแรงเสียดสี,แรงเฉือนต่อผิวหนังในขณะที่เคลื่อนย้ายหรือพลิกตัวผู้ป่วย

      ประการที่สี่ : ส่วนประกอบจะแบ่งเป็น 5 ส่วน สามารถแยกสลับตำแหน่งและถอดทำความสะอาดได้ง่าย เปลี่ยนแทนส่วนที่ชำรุดเท่านั้น โดยไม่ต้องเปลี่ยนทั้งชุด

 

 


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้